วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ปลา

ปลาทอง



ประวัติความเป็นมา

      ปลาทอง บางครั้งนิยมเรียกว่า ปลาเงินปลาทอง (อังกฤษ: Goldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCarassius auratus เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น โดยดั้งเดิมถือเป็นปลาที่ถูกนำมาบริโภคกันเป็นอาหาร ต่อมาได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงาหลากหลายสายพันธุ์ในปัจจุบัน
โดยปลาทองเชื่อว่า เป็นปลาสวยงามชนิดแรกที่มนุษย์เลี้ยง จากหลักฐานที่ปรากฏไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว เป็นรูปสลักปลาทองหลากหลายสีว่ายรวมกันอยู่ในบ่อที่ประเทศจีน ถือเป็นประเทศแรกที่เลี้ยงปลาทอง แต่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ปลาทองให้มีความสวยงามและหลากหลายมาจนปัจจุบัน โดยเมืองแรกที่ทำการเลี้ยง คือ ซะไก ในจังหวัดโอซะกะ ในราวปี ค.ศ. 1502-ค.ศ. 1503 แต่กลายมาเป็นที่นิยมเมื่อเวลาต่อมาอีกราว 100 ปี ถึงขนาดมีร้านขายปลาทองเปิดกันเป็นจำนวนมาก
ปลาทองมีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ดแบบบางเรียบ ครีบอกกลมแบน ครีบหางเป็นรูปพัด เป็นปลากินพืช และแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เป็นปลาที่ตะกละสามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบอกและใบหน้า ปลาตัวท้องช่องท้องจะอูมเป่งออก วางไข่ตามพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 วัน
ปลาทองมีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง, สีทอง, สีส้ม, สีเทา, สีดำและสีขาว แม้กระทั่งสารพัดสีในตัวเดียวกัน ในธรรมชาติชอบอาศัยตามหนองน้ำและลำคลองที่ติดกับแม่น้ำ อาจมีอายุได้ถึง 20-30 ปี ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 สำหรับในประเทศไทย เชื่อว่าปลาทองเข้าในสมัยอยุธยาตอนกลางเพื่อเป็นของบรรณาการในราชสำนักราว ๆ ค.ศ. 1370-ค.ศ. 1489
ในปัจจุบันมักเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และปลาทองที่เลี้ยงไว้ดูเล่นจะมีช่วงชีวิต ประมาณ 7-8 ปี พบจำนวนน้อยมากที่มีอายุถึง 20 ปี ปัจจุบันประเทศจีน, ฮ่องกง, สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางการส่งออกปลาทองที่ใหญ่ที่สุด
สำหรับในประเทศไทย การเลี้ยงปลาทองในฐานะปลาสวยงามในยุคปัจจุบัน เริ่มขึ้นหลังปี ค.ศ. 1960 ซึ่งความนิยมจะเริ่มขึ้นจากพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อนจะขยายไปตามจังหวัดต่าง ๆ จนปัจจุนมีฟาร์มปลาทองมากมาย มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งเกรดสูงที่มีราคาแพง และเกรดธรรมดาทั่วไป

สายพันธ์ุปลาทอง
มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองมีไม่ต่ำกว่า 100 สายพันธุ์ ซึ่งบางสายพันธุ์จนถึงปัจจุบันก็ได้หายสาบสูญไปตามกาลเวลาก็มี โดยสายพันธุ์แรกที่มีการเลี้ยงคือ ฮิฟุนะ ซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลาทองดั้งเดิมในธรรมชาติ แต่ว่ามีสีทอง ต่อมาก็ถูกพัฒนาจนกลายเป็นปลาทองที่มีหาง 3 แฉก เรียกว่า วากิ้น และจากวาคิ้นก็ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็นปลาทองหาง 4 แฉก คือ จิกิ้น จนในที่สุดก็กลายมาเป็นริวกิ้นในที่สุด
นอกจากนี้แล้วสายพันธุ์ที่เรียกว่า มารุโกะ ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์หัวสิงห์ต่าง ๆ และสายพันธุ์เดเมกิ้น ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์ตาโปนต่าง ๆ
ปลาทองสามารถแบ่งออกตามลักษณะลำตัวได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.กลุ่มที่มีลำตัวแบนยาว
มีลำตัวแบนข้าง และมีครีบหางเดี่ยว ยกเว้นวากิ้นซึ่งมีครีบหางคู่ ปลาในกลุ่มนี้มักจะว่ายน้ำได้รวดเร็ว ปราดเปรียว ทนทานต่อโรคต่าง ๆ และเจริญเติบโตได้เร็วกว่า ปลาทองที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ฟุนะ, ฮิบุนะ, โคเมท, ชูบุงกิ้น, วากิ้น, วาโตไน เป็นต้น
2.กลุ่มที่มีลำตัวกลมหรือรูปไข่
ถือเป็นกลุ่มที่มีจำนวนสายพันธุ์หลากหลายมากที่สุด ซึ่งเป็นกลุ่มที่ว่ายน้ำได้ไม่ดี อาจจะว่ายหัวตก มีลักษณะสำคัญที่ครีบ หัวและนัยน์ตาที่แตกต่างหลากหลายกัน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีครีบหลัง ได้แก่ ริวกิ้น, ออรันดา, เกล็ดแก้ว, ลักเล่ห์ แพนด้า, เดเมกิ้น, โทะซะกิน เป็นต้น กับ กลุ่มที่ไม่มีครีบหลัง ได้แก่ สิงห์จีน, สิงห์ญี่ปุ่น, สิงห์ดำตามิด, รันชู, ลูกโป่ง, ตากลับ เป็นต้น

ลักษณะทั่วไป


พันธุ์ปลาทองแบ่งตามลักษณะลำตัวแบน
1. ปลาทองธรรมดา (Common Goldfish) เป็นปลาทองทั่วไปที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ มีสีเขียว สีส้ม สีทอง และสีขาว และอาจมีจุดหรือลายสีดำ ลำตัวยาว แบน
2. ปลาทองโคเมท (Comet Goldfish) เป็นปลาทองที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลาทอง Common Goldfish มีลักษณะครีบหางยาวเรียว และบางตัวอาจยาวมากกว่าสามส่วนสี่หรือหนึ่งเท่าของความยาวลำตัวเลยทีเดียว ลำตัวมีสีส้ม สีขาวเงิน และสีเหลือง เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วเนื่องจากมีเครีบหางที่ยาว
3. ปลาทองชูบุงกิ (Shubunkin Goldfish) เป็นสายพันธุ์ปลาทองที่มีกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น ลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาทองธรรมดา แต่มีครีบยาวกว่า ปลายหางกลมมน ลำตัวมีสีส้ม สีแดง สีขาว และสีผสมของที่กล่าวมา
4. ปลาทองวากิง (Wakin Goldfish) เป็นสายพันธุ์ปลาทองที่มีกำเนิดในประเทศจีน ลำตัวแบนยาว มีครีบหางเป็นคู่ ลำตัวมีสีแดงสดหรือ สีขาว
แบ่งตามลักษณะลำตัวกลมหรือรูปไข่
1. ปลาทองริวกิ้น (Ryukin Goldfish)
ลำตัวด้านข้างดูกว้าง สั้น ท้องอ้วนกลม มีโหนกหลังสูง ครีบหลังตั้งขึ้นมีขนาดใหญ่ยาว ครีบหางยาว เว้าลึก เกล็ดลำตัวหนาแข็ง สีลำตัวพบมากมี 4 สี มีสีแดง ขาว ขาวแดง และส้ม และอาจมีสีอื่น เช่น สีส้ม ดำ ขาว และฟ้า
2. ปลาทองพันธุ์ออแรนดา (Oranda Goldfish)
เป็นปลาทองสายพันธุ์ผสมระหว่างปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ และริวกิ้น ลำตัวคล้ายรูปไข่หรือรูปรี ส่วนท้องไม่ป่องมาก ครีบยาวใหญ่ โดยเฉพาะครีบหางที่ยาวห้อยสวยงาม แบ่งย่อยเป็น
– ออแรนดาธรรมดา
มีลำตัวยาวรี หัวไม่มีวุ้น ครีบหางยาวมาก
– ออแรนดาหัววุ้น
ลำตัว และหางไม่ยาวเท่าออแรนดาธรรมดา บริเวณหัวมีวุ้นคลุมอยู่
คล้ายปลาทองหัวสิงห์ แต่วุ้นไม่ปกคลุมทั้งหมด และลักษณะวุ้นที่ผู้เลี้ยงต้องการมาก คือ ต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยม
– ออแรนดาหัวแดง (red cup oranda)
เป็นปลาทองพันธุ์ออแรนดาหัววุ้น แต่เน้นที่สีของวุ้นบนหัว ซึ่งจะสีเฉพาะ คือ สีแดง ขณะที่ลำตัวมีสีขาว เป็นปลาทองที่คัดพันธุ์ได้ในประเทศญี่ปุ่น จากการผสมระหว่างพันธุ์หัวสิงห์และริ้วกิ้น มีลักษณะตัวที่มีขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 60 ซ.ม.
– ออแรนดาห้าสี (calico oranda)
มีลักษณะเหมือนออแรนดาหัววุ้น แต่ลำตัวมี 5 สีที่เป็นเฉพาะ คือ สีฟ้า ขาว ดำ แดง และส้ม
– ออแรนดาหางพวง (vailtail oranda)
มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มีครีบหางยาวเป็นพวง ครีบหลังยาวพริ้ว หัวมีวุ้นเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ลำตัวใหญ่ ป้อมสั้น ท้องกลม ด้านหลังแบนข้างเล็กน้อย โหนกสันหลังสูง ทำให้ส่วนหัวดูเล็ก ครีบหลังยาวใหญ่
3. ปลาทองตาโปน (Telescope eyes Goldfish)
มีลักษณะลำตัวสั้น ท้องกลม คล้ายพันธุ์วินกิ้ง แต่มีลักษณะเด่นที่ตาทั้งสองข้าง โดยตามีลักษณะยื่นโปนออกมาด้านข้าง ผู้ที่ชื่นชอบปลาทองพันธุ์นี้ หากมีตายื่นโปนออกมามากยิ่งมีราคาสูง แบ่งย่อยเป็น
– ปลาทองตาโปนสีแดง หรือ ขาวแดง มีลักษณะลำตัว และครีบสีแดงเข้ม หรือมีสีขาวสลับแดง และหากมีสีขาว ต้องเป็นสีขาวอย่างเดียวไม่มีสีอื่นแกมผสม
– ปลาทองตาโปน 3 สี หรือ 5 สี มีลักษณะเหมือนปลาทองตาโปนทั่วไป แต่จะมีสีของลำตัว และครีบ 3 หรือ 5 สี เท่านั้น
4. ปลาทองเกล็ดแก้ว (Pearl scales Goldfish)
มีลักษณะลำตัวอ้วน กลม สั้น ส่วนท้องป่อง มองด้านข้างมีมีลักษณะทรงกลม หัวเล็ก ปากแหลม พันธุ์นี้มีลักษณะเด่นที่เกล็ดที่เป็นที่มาของชื่อ คือ เกล็ดหนามาก มีลักษณะนูนขึ้นเป็นเม็ดกลมๆ เพราะเกล็ดมีสารกัวอานิน (guanin) ที่เป็นองค์ประกอบมาก ลักษณะที่ดีของปลาทองพันธุ์นี้ คือ เกล็ดต้องนูนเด่น และเรียงตัวอย่างสม่ำเสมอ และเป็นระเบียบ ครีบ และหางจะต้องแผ่ออก ไม่หุบงอ สีทีนิยมมาก ได้แก่ สีแดง ส้ม ขาวแดง ขาว เหลือง และดำ พันธุ์ที่ประเทศไทยนิยมเลี้ยง ได้แก่ ปลาทองเกล็ดแก้วหัวมงกุฏ ปลาทองเกล็ดแก้วหน้าหมู และปลาทองเกล็ดแก้วหัววุ้น
5. ปลาทองพันธุ์เล่ห์ (Black telescope eyes Goldfish หรือ Black moor)
ปลาทองพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นที่สีลำตัว คือ จะต้องมีสีลำตัวทุกส่วนดำสนิท ไม่มีสีอื่น และต้องไม่เปลี่ยนสีตลอดอายุ ได้แก่ ปลาทองรักเล่ห์ หรือ เล่ห์
6. ปลาทองพันธุ์แพนด้า (Panda Goldfish)
เป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงมากในประเทศจีน เป็นปลาทองที่พัฒนามาจากพันธุ์เล่ห์ ปลาทองพันธุ์นี้มีลักษณะเด่น คือ ครีบทุกครีบ รวมทั้งครีบหางจะมีสีดำสนิท ส่วนสีลำตัวจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาวหรือสีเงิน ทำให้มีลักษณะคล้ายกับหมีแพนด้าของจีน
7. ปลาทองพันธุ์ปอมปอน (Pompon Goldfish)
มีลักษณะลำตัวป้อม สั้น แต่ยาวกว่าปลาทองหัวสิงห์ มองจากด้านบนจะมีรูปสี่เหลี่ยมคล้ายปลาทองหัวสิงห์ ผนังกั้นจมูกยื่นยาวออกเป็นพู 2 พู พันธุ์ที่นิยมเลี้ยง คือ ปลาทองปอมปอนสีแดง ไม่มีครีบหลัง
แบ่งตามลักษณะลำตัวกลม ไม่มีครีบหลัง
1. ปลาทองหัวสิงห์ (Lion head) มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาทอง
ชนิดที่ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้เลี้ยงปลา ปลาชนิดนี้มีรูปทรงสง่างาม มีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ สิงห์จีนและสิงห์ญี่ปุ่น สิงห์จีนจะมีลักษณะหัวใหญ่ส่วนใหญ่จะมีวุ้นหนา ลำตัวยาว สิงห์ญี่ปุ่นส่วนหัวจะเล็กกว่าส่วนใหญ่ไม่มีวุ้นลำตัวสั้น หลังจะโค้งมน หางสั้นและเชิดขึ้นดูสง่างาม ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินลูกน้ำ ไรแดง ไข่น้ำ การเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ได้ดีควรเลี้ยงในอ่างตื้น ๆ ลึกไม่เกิน 8 นิ้ว จะทำให้ปลามีรูปร่างสวยงาม
2. ปลาทองตากลับ (Celestial Goldfish)
3. ปลาทองตาลูกโป่ง (Bubble eyes Goldfish)



นกแก้ว

นกแก้วมาคอร์



ประวัติความเป็นมา
มาคอว์ (อังกฤษ: Macaw) เป็นสัตว์ปีกอยู่ในวงศ์ Psittacidae มาคอว์จัดเป็นนกในตระกูลปากขอที่มีขนาดใหญ่ นิยมเลี้ยงกันมากเนื่องจากมีสีสันที่สวยงาม เชื่อง และสามารถพูดเลียนเสียงคนได้
มาคอว์ถือเป็นนกแก้วที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโกและอเมริกาใต้ มีสีสันสวยงาม มีเสียงร้องที่ดังมากจะงอยปากจะใหญ่เป็นพิเศษ เหนือปากด้านบนจะมีสีขาวเส้นเล็กๆ คาดระหว่างปากกับหัว บนหัวมีขนสีเขียวสดและสีฟ้า ดวงตามีขนเป็นลายเส้นดำ 4-5 เส้น ขนบริเวณคอจนถึงหน้าอกเป็นสีเหลืองเข้มและขนหางมีสีแดงสด ขาสั้นใหญ่ แข็งแรง ขนที่ปีกบางทีก็เป็นสีฟ้าและสีเหลืองหรือสีเขียวเหลือง ขนาดของนกแก้วมาคอว์มีขนาดตั้งแต่ 32-35 นิ้ว
อาหารของมาคอว์คือ ผลไม้และเมล็ดธัญพื ชอบอยู่กันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ในฤดูผสมพันธุ์จะจับคู่กันแบบคู่ใครคู่มัน และไปสร้างรังตามต้นไม้ใหญ่เพื่อวางไข่ วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ใช้เวลาฟักไข่ 30-35 วัน ขนของลูกนกจะขึ้นหลังจาก 3 สัปดาห์และขึ้นจนเต็มตัวและมีสีสันสวยงาม ลูกนกจะแข็งแรงเต็มที่เมื่ออายุสามเดือน ในระหว่างที่ยังเล็กต้องอาศัยอาหารจากแม่นกที่นำมาป้อน โดยจะใช้ปากจิกกินอาหารจากปากแม่ของมันจนกระทั่งลูกนกสามารถช่วยตนเองได้ และในที่สุดมันก็จะบินและหาอาหารเองโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่อีกต่อไป

การเลี้ยง
มาคอว์จัดเป็นนกที่สามารถฝึกให้เชื่อง เป็นนกที่มีความจำดีและมีความพยาบาทรุนแรง ดุร้าย น่ากลัวมากเท่ากับความอ่อนโยนอ่อนน้อมน่ารักชวนให้ปราณีของมัน โดยอุปนิสัยแล้วมาคอว์เป็นนกที่ชอบสะอาด หากผู้เลี้ยงอาบน้ำให้มันเป็นประจำ มาคอว์จะมีความสุขมาก ดังนั้นผู้เลี้ยงควรใช้น้ำจากฝักบัวรดให้นกได้อาบน้ำบ่อยครั้ง ในฤดูฝนควรอาบน้ำให้ในกลางแจ้ง เพื่อให้นกได้อาบน้ำฝนบ้าง แล้วควรนำนกมาไว้ในที่มีแดดดอนๆ และอากาศบริสุทธิ์ มาคอว์เป็นนกที่ไม่ชอบอยู่โดดเดี่ยวเช่นเดียวกับนกแก้วชนิดอื่นๆ
มาคอว์ที่ได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดีจะสนิทสนมกับผู้เลี้ยง หากผู้เลี้ยงห่างเหินมาคอว์จะโศรกเศร้าแสดงอารมณ์ออกมาอย่างชัดเจน ดังนั้นคนที่เลี้ยงมาคอว์ควรจะให้ความสนใจและดูแลอย่างใกล้ชิด มาคอว์เป็นนกที่มีขนาดใหญ่มาก มีปากที่แหลมคม ประสาทตาไวมาก มีความฉลาดและน่ารักในตัวของมันเอง เป็นนกที่เชื่องมาก หากเจ้าของเอาใจใส่มัน มันก็จะรักเราเหมือนที่เรารักมัน สามารถสอนให้เล่นจักรยาน สอนกิจกรรมต่างๆ ได้แต่ต้องหมั่นฝึกฝนจึงจะเป็น

จำแนกตามชื่อและสี
     มาคอว์สามารถจำแนกชนิดตามชื่อและสีได้ 9 ชนิดดังนี้
  1. Red and Yellow Macaw (เรด-แอนด์-เยลโล่-มาคอว์) มีสีแดงแกมเหลือง ถิ่นอาศัยดั้งเดิมเข้าใจว่าคือ อเมริกา ลำตัวยาวประมาณ 36 นิ้ว ลำตัวสีแดงสด ปีกและหางสีน้ำเงินเขียว แก้มสีขาวและส้ม เพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า สีแดงบนกระม่อนจะอ่อนกว่าตัวผู้ ราคาแพง
  2. Red and Blue Macaw (เรด-แอนด์-บลู-มาคอว์) มีสีแดงแกมน้ำเงิน ถิ่นอาศัยดั้งเดิมมาจากอเมริกาใต้ ลำตัวยาวประมาณ 3 ฟุต มีสีฟ้าประปรายทั่วร่างกาย จะงอยปากสีดำ เป็นมาคอว์ที่ได้รับความนิยมปานกลาง
  3. Blue and Yellow Macaw (บลู-แอนด์-เยลโล่-มาคอว์) มีสีน้ำเงินแกมเหลือง ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกา คอหอยมีสีฟ้าแกมเขียว อกสีเหลืองสด เป็นมาคอว์ที่มีความนิยมสูงในประเทศไทย ลำตัวยาวประมาณ 3 ฟุต
  4. Brazil Macaw (บราซิล-มาคอว์) มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล ลำตัวมีสีเขียวสดข้างแก้มมีสีเหลือง จะงอยปากสีดำ ในประเทศไทยราคาไม่สูงมากนัก
  5. Severe Macaw (เซเวอร์-มาคอว์) มีลำตัวสีเขียวเข้มจัดกว่ามาคอว์ชนิดอื่น บนหัวมีสีน้ำตาลและฟ้า เป็นมาคอว์ขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 20 นิ้ว
  6. Lear's Macaw (เลอ-มาคอว์) เป็นนกแก้วสีฟ้าทึมๆ เป็นมาคอว์ขนาดกลาง ลำตัวยาวประเมาณ 28 นิ้ว
  7. Hyacinthine Macaw (ไฮยาซิน-มาคอว์) มีสีฟ้าอมม่วงเว้นแต่บริเวณข้อพับของปีกจะมีสีเหลือง เป็นมาคอว์ขนาดใหญ่ ลำตัวยาวประมาณ 34 นิ้ว มีราคาซื้อขายที่สูง
  8. Military Macaw (มิลลิแทรี่-มาคอว์) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "มาคอว์สีกากี" เป็นมาคอว์ขนาดกลาง ลำตัวยาวประมาณ 27 นิ้ว มีสีเขียวอ่อนเคลือบเหลือง หน้าผากสีแดงสด ปีกสีน้ำตาลค่อนไปทางเหลือง สะโพกและหางสีฟ้า
  9. Illiger’s Macaw (อิลลิเชอร์-มาคอว์) มีสีเขียวเข้ม หน้าผาก สะโพกและใต้ท้องมีสีแดงสด มีขนสีน้ำตาลและฟ้าแตะปะปรายทั่วไป เป็นมาคอว์ขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 16 นิ้ว


จำแนกชนิดตามสายพันธ์ุตามวิทยาศาสตร์

สายพันธุ์มาคอว์มีอยู่ 17 ชนิด สามารถจำแนกชนิดตามสายพันธุ์ทางวิทยาศาสตร์ได้ 4 ชนิดดังนี้
  1. Genus Ara เป็นหนึ่งในสี่ของสายพันธุ์ที่แบ่งตามความใหญ่ (large macaws) ของขนาดและการแบ่งของสี (vivid coloration) ที่เห็นได้ชัดเจนในกลุ่มนี้ เช่น Blue and Gold Macaw, Green-winged Macaw เป็นต้น
  2. Genus Diopsittaca ในกลุ่มที่สองนี้ได้แบ่งตามสีที่อยู่ที่หัวไหล่หรือบ่ามีสีแดง (Red-shouldered Macaw species (nobilis)) เช่น Hahn's Macaw, Noble Macaw จะรวมเป็นสายพันธุ์ย่อยของกลุ่ม genus Ara เป็นต้น
  3. Genus Anodorhynchus ในกลุ่มที่สามนี้ได้แบ่งตามสีที่เด่นชัดสีเขียวอมน้ำเงิน (The Glaucous (glaucogularis)) ได้แก่ Hyacinth (hyacinthinus) และ Lear's or Blue (leari) Macaws
  4. Genus Cyanopsitta ในกลุ่มที่สี่ได้แบ่งตามลักษณะคล้ายกับกลุ่มที่สามนี้ โดยมีอยู่เพียงชนิดเดียว คือ Spix's (spixii) Macaw
ทั้งหมดเป็นการแบ่งสายพันธุ์ทางวิทยาศาสตร์ในกลุ่มต่างๆ โดยยังมีการแบ่งเป็นชื่อเรียกย่อยอีก ยกตัวอย่างของกลุ่ม Genus Ara ที่มีชนิด Blue and Gold ก็จะใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Ara ararauna: Blue and Gold เป็นต้น



กระต่าย


กระต่าย มินิลอป (Mini Lop Rabbit)



ประวัติความเป็นมา

          ในปี ค.ศ. 1972 Bob Herschbach ได้ค้นพบกระต่ายสายพันธุ์มินิลอปในงานแสดงกระต่ายแห่งชาติเยอรมัน ใน Essen ประเทศเยอรมัน กระต่ายมินิลอปตัวนั้นชื่อ Klein Widder กระต่ายมินิลอปตัวแรกกำเนิดมาจาก "German Big Lop" และ "Small Chinchilla"
          German lops หนักประมาณ 3.6 กิโลกรัม รูปร่างเรียวและมีขนาดใหญ่ มีหูหนา
         Bob Herschbach ได้ให้กำเนิดมินิลอปตัวแรกในสหรัฐฯ ซึ่งมีสีทึบ สำหรับรุ่นต่อมาสีของกระต่ายเปลี่ยนเป็นสีแถว ๆ สีน้ำตาล ซึ่งกลายมาเป็นสีมาตรฐานของกระต่ายพันธุ์มินิลอป


         ในปี ค.ศ. 1974 หลังจากที่ Bob Herschbach มีกระต่ายมินิลอปแล้ว เขาก็ได้นำไปให้ทาง ARBA ขึ้นทะเบียนเป็นสายพันธุ์ใหม่ แต่ทาง ARBA แนะนำว่าควรทำการลดขนาดของกระต่ายลงให้มีความกระทัดรัดมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เป็นกระต่ายที่มีความน่าสนใจ เพื่อการลดขนาดนี้ Bob Herschbach ได้ตามหาพ่อแม่พันธุ์กระต่ายอื่น ๆ มาผสมกับกระต่ายมินิลอปของเขา แล้วกระต่ายมินิลอปก็เป็นที่สนใจแก่ประชาชนทั่วไป
         
          ในปี ค.ศ. 1977 มินิลอปมีผู้สนับสนุนเพิ่ม คือ Herb Dyke

          ในปี ค.ศ. 1978 Herschbach และ Dyke ได้จัดตั้งสโมสรกระต่ายมินิลอปขึ้น ในปีนั้นเองมีสมาชิกกว่า 500 คน จากนั้นพวกเขาก็ส่งจดหมายไปหา ARBA ให้ยอมรับกระต่ายสายพันธุ์นี้

          ในปี ค.ศ. 1980 ในการประขุมกระต่ายแห่งชาติ สายพันธุ์มินิลอปถูกตัดสินว่ามันควรถูกลงทะเบียนเป็นกระต่านสายพันธุ์แท้อย่างเป็นทางการ โดย ARBA หลังจากนั้นไม่นาน กระต่ายมินิลอปก็นิยมไปทั่ว

ลักษณะนิสัย

   กระต่ายพันธุ์นี้มีนิสัยขี้เล่นและเป็นกันเอง มันเป็นพันธุ์ที่ฉลาด(เมื่อเทียบกับกระต่ายด้วยกัน) มันสามารถนำมาฝึกได้ มันเข้าใจคำสั่งบางคำสั่งได้ มันชอบการอยู่เป็นครอบครัว มันจะแสดงความไม่พอใจหากมันไม่ได้ในสิ่งที่มันต้องการ


ลักษณะของสายพันธ์ุ

         มินิลอปโตเต็มที่อาจหนักถึง 2.7 กิโลกรัม รูปร่างขนาดกลาง โดยรวมเป็นพันธุ์ที่น่ารัก แต่ถ้าเทียบกับพันธุ์อื่นๆจะกระตือรือร้อนน้อยกว่า ผู้เลี้ยงต้องหาวิธีกระตุ้นหลากหลายกว่าจะได้เห็นพันธุ์นี้แค่ส่ายหาง และต้องเตรียมอุปกรณ์ไว้แปรงขนเนื่องจากพันธุ์นี้จะผลัดขนค่อนข้างเยอะ




สุนัข

ไซบีเรียน ฮัสกี้ (Siberian Husky )



ประวัติความเป็นมา

     ไซบีเรียน อัสกีนี้มีต้นกำเนิดในตะวันออกของไซบีเรีย คำว่า “ฮัสกี้” ได้มาจากชื่อที่ใช้เรียกชาวอินนูอิต(Inuit) โดยเพาะพันธุ์มากจากสุนัขในวงศ์สปิตซ์(สุนัขขนยาวและหนา)ของชาวชุกซี ต่อมาได้ถุกนำเข้ามาในอลาสกาและแพร่พันธุ์เข้าสู่สหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา จนพัฒนามาเป็นสุนัขลากเลื่อนเมื่อประมาณ ค.ศ.1900 ต่อมาจึงนำมาไซบีเรียนเลี้ยงเป็นสุนัขตามบ้าน

ลักษณะทั่วไป

     ไซบีเรียน ฮัสกี หรือเรียกสั้นๆว่า ไซบีเรียน สุนัขขนาดกลาง ขนฟูแน่น แข็งแรง คล่องแคล่ว มีหน้าตาเป็นอาวุธ เพราะ หน้าดุ ทำให้คนสามารถกลัวได้ ลักษณะจะเหมือนหมาป่า แต่จริงๆแล้วไม่ดุอย่างหน้าตาหรอกนะ เป็นมิตรกับคนและเข้ากับคนได้ง่าย สุนัขพันธุ์ไซบีเรียนนี้จะรู้จักกันดีในกีฬาลากเลื่อนที่เป็นกิจกรรมที่ได้รับความนิยม


ลักษณะนิสัย
      ไซบีเรียนเป็นสุนัขที่ฉลาด ไฮเปอร์ตื่นตัว พลังงานสูง สมาธิค่อนข้างสั้น รักอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง เข้าขั้นเรียก่า ดื้อ ขี้บ่น ขี้เถียง ฝึกยาก เป็นนักทำลายข้าวของตัวยง แต่ไซบีเรียนเป็นน้องหมาที่เป็นมิตรกับทุกคน ไม่ว่าจะคุ้นหน้า หรือแปลกหน้า ไหวพริบดี ฉลาดแกมโกง ซึ่งไหวพริบกับความฉลาดที่มีของพวกเขานั้นไม่ค่อยได้เอาไปใช้ประโยชน์สักเท่าไหร่ โดยส่วนมากจะเป็นเล่ห์เหลี่ยมเพื่อหาทางซุกซนเสียมากกว่า ไซบีเรียนฮัสกี้ชอบหอนมากกว่าเห่า จนกลายเป็นปัญหาสร้างความเดือดร้อนให้แก่ครอบครัวและเพื่อนบ้าน พวกเขาค่อนข้างฝึกยาก จึงควรได้รับการฝึกอย่างสม่ำเสมอ เป็นประจำทุกวัน วันละ 10 - 15 นาที แต่ควรได้รับการออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันมากกว่า 15 นาที โดยการวิ่ง เพื่อให้พวกเขาได้เผาผลาญพลังงาน ไม่ซุกซนจนเกินควร 


การดูแล
      การให้อาหารสุนัขไซบีเรียนนั้น จะให้ 2-3 ครั้ง/วัน ได้ แต่สุนัขพันธุ์นี้จะค่อนข้างกินอะไรยากอยู่เช่นกันหากไม่ถูกปาก มันจะยอมอดอาหารได้ 3-4 วัน ดังนั้นวิธีการที่จะกระตุ้นความอยากอาหารได้คือการพาสุนัขไปออกกำลังกาย ส่วนของอาหารนั้นผู้เลี้ยงสามารถสามารถนำอาหารสำเร็จรูปมาผสมกับอาหารอื่นได้เพื่อเพิ่มรสชาติและอรรถรสในการกินมากขึ้น อาหารที่สุนัขไซบีเรียนโปรดปรานที่สุด คืออาหารที่มีปลาผสมอยู่ในอาหาร สุนัขจะกินหมดได้อย่างรวดเร็ว




     ส่วนเรื่องของการทำความสะอาดนั้น ไม่ควรอาบน้ำบ่อยเกินไป อาบ2-3 สัปดาห์ต่อครั้งก็พอ เพราะไซบีเรียนนั้นเป็นสุนัขสะอาด ไม่มีกลิ่นตัว หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่สกปรกก็ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำบ่อยๆ ก็ได้ ที่สำคัญเวลาอาบน้ำต้องใช้แชมพูอาบน้ำสุนัขโดยเฉพาะ ควรมีความอ่อนโยนมากๆ และหลังจากอาบน้ำเสร็จแล้วจะต้องใช้ไดร์เป่าขนให้แห้งสนิท อาจใช้ระยะเวลานาน แต่เพื่อไม่ทำให้น้องไซบีเรียนเป็นโรคผิวหนัง

     เรื่องของขนสุนัขไซบีเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่ผู้เลี้ยงควรใส่ใจ หากอยู่ในช่วงฤดูผลัดขนนั้น มันจะมีปริมาณขนที่ผลัดออกมาเยอะมากๆ ฉะนั้นผู้เลี้ยงควรจะต้องมั่นดูแล และแปรงขน เพื่อไม่ให้เกิดขนพันกัน ส่วนเรื่องของสุขภาพของสุนัขก็ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นและผู้เลี้ยงควรจะให้ความสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยสร้างสุขภาพที่ดีแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพจิตของสุนัขดีขึ้นด้วย ควรใช้เวลาการออกกำลังกาย 15 นาที/วัน ดีที่สุดและทำทุกๆวัน

     ผู้เลี้ยงจะต้องทราบว่าหากไม่ได้พาสุนัขไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไซบีเรียนจะกลายเป็นตัวยุ่ง ก่อความรำคาญในทันที เพราะมันจะเกิดความเบื่อหน่าย จึงต้องหาอะไรทำเพื่อลดออาการเบื่อหน่ายลงไป อีกทั้งการออกกำลังกายยังเป็นการช่วยกนะตุ้นให้ไซบีเรียนนั้นอยากอาหารไปในตัวอีกด้วย







แมว

แมวเปอร์เซีย





ประวัติของแมวเปอร์เซีย
   
           แมวเปอร์เซีย มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเปอร์เซีย หรือประเทศตุรกี และอิหร่านในปัจจุบัน โดยในปี ค.ศ. 1684 ได้มีการบันทึกลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับที่มาของ แมวเปอร์เซีย หรือแมวเปอร์เซียน (Persian Cats) ว่า พ่อค้าทะเลทราย (หรือที่เรียกว่ากองคาราวาน) ทางแถบๆ ตะวันตกของตุรกีและอิหร่าน มักบรรทุกสินค้ามากมาย อาทิเครื่องเทศ อัญมณี และสินค้ามีค่าอื่น ๆ ซึ่งบางครั้งก็มีแมวขนยาวติดมาด้วย แมวขนยาวนั้นถูกซื้อโดยกะลาสีและได้นำแมวติดไปกับเรือสินค้าเดินทางเข้าทวีปยุโรป ซึ่งหลายปีต่อมาแมวพันธุ์นั้นถูกรู้จักในชื่อ เตอร์กิส แองโกร่า (Turkish Angora)
          ต่อมาในปลายศตวรรษที่ 19 ชาวอังกฤษเริ่มผสมพันธุ์แมวเตอร์กิส แองโกร่า กับแมวสายพันธุ์อื่น และพัฒนาจนได้แมวที่มีขนหนาและยาวกว่าเดิม กระทั่งในที่สุดแมวพันธุ์นี้ก็ได้รับการยอมรับและจดทะเบียนขึ้นที่ประเทศอังกฤษในชื่อว่า Longhair ซึ่งชื่อของมันก็ถูกตั้งขึ้นตามประเทศต้นกำเนิดนั่นเอง 
          นอกจากประเทศอังกฤษแล้ว แมวเปอร์เซียยังถูกนำไปเลี้ยงในประเทศต่างๆ ทั้งยุโรปและอเมริกามานานหลายร้อยปี ซึ่งอเมริกาจะเรียกแมวพันธุ์นี้ว่า Persian

ลักษณะสายพันธุ์

           แมวเปอร์เซีย เป็นแมวที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีกระดูกที่ใหญ่และแข็งแรง หัวและหน้ากลม หน้าผากโหนก แก้มเต็ม ดวงตากลมโต และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน มีจมูกที่หัก กล่าวคือ สังเกตได้ชัดเจนเมื่อมองจากด้านข้างจะเห็นจุดหักระหว่างจมูกกับหน้าผากชัดเจน เมื่อมองจากด้านหน้าจะเห็นเป็นขีดอยู่ระหว่างดวงตา
          สำหรับแมวเปอร์เซียที่มีลักษณะตรงตามมาตรฐานสายพันธุ์ ควรจะมีจมูกอยู่ในระดับเดียวกับตา โครงสร้างลำตัวสั้น ขาสั้นเตี้ย หูเล็กมีปลายหูที่กลมมน และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน หางสั้นและตรง ไม่มีรอยหัก ขนยาวฟู มีท่วงท่าการเดินดูสง่างาม ทั้งนี้ แมวเปอร์เซียในสมัยแรก ๆ มีรูปร่างหน้าตาที่ต่างจากแมวเปอร์เซียในปัจจุบันมากทีเดียว ปัจจุบันมันถูกพัฒนาให้มีรูปร่างที่สั้นขึ้น ขนยาวขึ้น ถูกเปลี่ยนแปลงโครงร่างให้ใหญ่และกลม จมูกสั้นและหักมากขึ้น 
         
 แมวเปอร์เซียถูกแบ่งออกเป็น 7 ชนิด โดยแบ่งตามสี และลักษณะเป็นหลัก ดังนี้

            1.Solid colour  ขนจะเป็นสีเดียวตลอดตัว ไม่ควรมีสีอื่นแซมเลย สีจะต้องเสมอกันตลอด เช่น white ขนสีขาวบริสุทธิ์, blue ขนสีเทาเข้ม, black สีขนดำสนิท, red ขนสีแดงเข้มและสดใส, cream ขนสีครีมเข้ม, chocolate ขนสีน้ำตาลช็อกโกแลต, lilac ขนสีลาเวนเดอร์
            2.Sliver&Golden ตาจะเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมน้ำเงินเท่านั้น

            3.Shade&Smoke จะมีสีขน 3 แบบ คือแบบ Shell จะมีสีที่ปลายขนเพียงเล็กน้อย แบบ Shade จะมีส่วนที่เป็นสีมากกว่า และแบบ Smoke จะมีสีมากกว่าแบบ Shade

            4.Tabby จะมีลวดลายที่เป็นที่ยอมรับอยู่ 2 แบบ คือ Classic และ Mackerel

            5.Parti-colour จะเกิดขึ้นเฉพาะเพศเมียเท่านั้น อันสืบเนื่องมาจากการสืบทอดทางโครโมโซม

            6.Calico & Bi-Color สีทั่วไปตาจะเป็นสีทองแดง ถ้าเป็นตาสองสีตาข้างหนึ่งจะเป็นสีฟ้า อีกข้างเป็นสีทองแดง ความเข้มของสีตาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน

            7.Himalayan เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแมวไทยวิเชียรมาสกับแมวเปอร์เซีย จะมีลักษณะแต้มสีตำแหน่งเดียวกับแมววิเชียรมาส คือหูทั้งสองข้าง ที่หน้าครอบเหมือนหน้ากาก ขาทั้งสี่ ตาสีฟ้าสดใส

อาหารและการเลี้ยงดู

           ในเรื่องของอาหารการกินนั้น ควรเลือกอาหารที่ช่วยให้ทางเดินอาหารของแมวไม่อุดตัน เนื่องจากแมวเปอร์เซียจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเลียทำความสะอาดขน อันเป็นสาเหตุในการกินหรือกลืนเส้นขนเข้าไปเป็นจำนวนมาก หากเส้นขนจะไปรวมตัวกันในช่องท้องจะทำให้แมวเปอร์เซียสำรอกหรือเกิดปัญหาของระบบย่อยอาหารได้

โรคและวิธีการป้องกัน

           โรคที่พบบ่อยใน แมวเปอร์เซีย นั้นส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นและถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคหายใจขัด หอบ หรือ ท่อน้ำตาอุดตัน เป็นต้น นอกจากนี้ แมวเปอร์เซียที่มีสีขาวรวมถึงแมวเปอร์เซียที่มีตาสีฟ้าหรือตาข้างละสีมักมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด คือ หูหนวก อีกด้วย

           อย่างไรก็ตาม โรคท่อน้ำตาอุดตัน และปัญหาคราบน้ำตา เป็นปัญหาที่พบบ่อยและถูกถามถึงมากที่สุด อาการที่พบ คือ มีน้ำตา ไหลในตาข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ไม่มีอาการหรี่ตา น้ำตาที่ไหลออกมาเป็นน้ำตาใสๆ ร่วมกับมีคราบติดบริเวณร่องจมูก ซึ่งโรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรม เกิดจากการสะสมของแบคทีเรียในท่อน้ำตา เนื่องจากท่อน้ำตาและโพรงจมูกของแมวเปอร์เซียคดไปคดมา 

           เมื่อเจ้าเหมียวของคุณประสบปัญหานี้เข้า การแก้ปัญหาเบื้องต้น ผู้เลี้ยงอาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเคอยเช็ดคราบน้ำตาเป็นประจำ เพราะหากปล่อยไว้จนแห้ง อาจเช็ดไม่ออก หมดสวยหมดหล่อไม่รู้ด้วยนะคะ 

           แต่ถ้าหากมีคราบน้ำตามเยอะและข้นกว่าปกติ อาจต้องใช้ยาป้ายตาร่วมกับการเช็ดคราบน้ำตา หรืออาจพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อล้างท่อน้ำตา และทำการรักษาต่อไป