แมวเปอร์เซีย
ประวัติของแมวเปอร์เซีย
ประวัติของแมวเปอร์เซีย
ต่อมาในปลายศตวรรษที่ 19 ชาวอังกฤษเริ่มผสมพันธุ์แมวเตอร์กิส แองโกร่า กับแมวสายพันธุ์อื่น และพัฒนาจนได้แมวที่มีขนหนาและยาวกว่าเดิม กระทั่งในที่สุดแมวพันธุ์นี้ก็ได้รับการยอมรับและจดทะเบียนขึ้นที่ประเทศอังกฤษในชื่อว่า Longhair ซึ่งชื่อของมันก็ถูกตั้งขึ้นตามประเทศต้นกำเนิดนั่นเอง
นอกจากประเทศอังกฤษแล้ว แมวเปอร์เซียยังถูกนำไปเลี้ยงในประเทศต่างๆ ทั้งยุโรปและอเมริกามานานหลายร้อยปี ซึ่งอเมริกาจะเรียกแมวพันธุ์นี้ว่า Persian
นอกจากประเทศอังกฤษแล้ว แมวเปอร์เซียยังถูกนำไปเลี้ยงในประเทศต่างๆ ทั้งยุโรปและอเมริกามานานหลายร้อยปี ซึ่งอเมริกาจะเรียกแมวพันธุ์นี้ว่า Persian
ลักษณะสายพันธุ์
แมวเปอร์เซีย เป็นแมวที่มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีกระดูกที่ใหญ่และแข็งแรง หัวและหน้ากลม หน้าผากโหนก แก้มเต็ม ดวงตากลมโต และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน มีจมูกที่หัก กล่าวคือ สังเกตได้ชัดเจนเมื่อมองจากด้านข้างจะเห็นจุดหักระหว่างจมูกกับหน้าผากชัดเจน เมื่อมองจากด้านหน้าจะเห็นเป็นขีดอยู่ระหว่างดวงตา
สำหรับแมวเปอร์เซียที่มีลักษณะตรงตามมาตรฐานสายพันธุ์ ควรจะมีจมูกอยู่ในระดับเดียวกับตา โครงสร้างลำตัวสั้น ขาสั้นเตี้ย หูเล็กมีปลายหูที่กลมมน และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน หางสั้นและตรง ไม่มีรอยหัก ขนยาวฟู มีท่วงท่าการเดินดูสง่างาม ทั้งนี้ แมวเปอร์เซียในสมัยแรก ๆ มีรูปร่างหน้าตาที่ต่างจากแมวเปอร์เซียในปัจจุบันมากทีเดียว ปัจจุบันมันถูกพัฒนาให้มีรูปร่างที่สั้นขึ้น ขนยาวขึ้น ถูกเปลี่ยนแปลงโครงร่างให้ใหญ่และกลม จมูกสั้นและหักมากขึ้น
แมวเปอร์เซียถูกแบ่งออกเป็น 7 ชนิด โดยแบ่งตามสี และลักษณะเป็นหลัก ดังนี้
2.Sliver&Golden ตาจะเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอมน้ำเงินเท่านั้น
3.Shade&Smoke จะมีสีขน 3 แบบ คือแบบ Shell จะมีสีที่ปลายขนเพียงเล็กน้อย แบบ Shade จะมีส่วนที่เป็นสีมากกว่า และแบบ Smoke จะมีสีมากกว่าแบบ Shade
4.Tabby จะมีลวดลายที่เป็นที่ยอมรับอยู่ 2 แบบ คือ Classic และ Mackerel
5.Parti-colour จะเกิดขึ้นเฉพาะเพศเมียเท่านั้น อันสืบเนื่องมาจากการสืบทอดทางโครโมโซม
6.Calico & Bi-Color สีทั่วไปตาจะเป็นสีทองแดง ถ้าเป็นตาสองสีตาข้างหนึ่งจะเป็นสีฟ้า อีกข้างเป็นสีทองแดง ความเข้มของสีตาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน
7.Himalayan เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแมวไทยวิเชียรมาสกับแมวเปอร์เซีย จะมีลักษณะแต้มสีตำแหน่งเดียวกับแมววิเชียรมาส คือหูทั้งสองข้าง ที่หน้าครอบเหมือนหน้ากาก ขาทั้งสี่ ตาสีฟ้าสดใส
อาหารและการเลี้ยงดู
ในเรื่องของอาหารการกินนั้น ควรเลือกอาหารที่ช่วยให้ทางเดินอาหารของแมวไม่อุดตัน เนื่องจากแมวเปอร์เซียจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเลียทำความสะอาดขน อันเป็นสาเหตุในการกินหรือกลืนเส้นขนเข้าไปเป็นจำนวนมาก หากเส้นขนจะไปรวมตัวกันในช่องท้องจะทำให้แมวเปอร์เซียสำรอกหรือเกิดปัญหาของระบบย่อยอาหารได้
โรคและวิธีการป้องกัน
โรคที่พบบ่อยใน แมวเปอร์เซีย นั้นส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นและถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคหายใจขัด หอบ หรือ ท่อน้ำตาอุดตัน เป็นต้น นอกจากนี้ แมวเปอร์เซียที่มีสีขาวรวมถึงแมวเปอร์เซียที่มีตาสีฟ้าหรือตาข้างละสีมักมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด คือ หูหนวก อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม โรคท่อน้ำตาอุดตัน และปัญหาคราบน้ำตา เป็นปัญหาที่พบบ่อยและถูกถามถึงมากที่สุด อาการที่พบ คือ มีน้ำตา ไหลในตาข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ไม่มีอาการหรี่ตา น้ำตาที่ไหลออกมาเป็นน้ำตาใสๆ ร่วมกับมีคราบติดบริเวณร่องจมูก ซึ่งโรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรม เกิดจากการสะสมของแบคทีเรียในท่อน้ำตา เนื่องจากท่อน้ำตาและโพรงจมูกของแมวเปอร์เซียคดไปคดมา
เมื่อเจ้าเหมียวของคุณประสบปัญหานี้เข้า การแก้ปัญหาเบื้องต้น ผู้เลี้ยงอาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเคอยเช็ดคราบน้ำตาเป็นประจำ เพราะหากปล่อยไว้จนแห้ง อาจเช็ดไม่ออก หมดสวยหมดหล่อไม่รู้ด้วยนะคะ
แต่ถ้าหากมีคราบน้ำตามเยอะและข้นกว่าปกติ อาจต้องใช้ยาป้ายตาร่วมกับการเช็ดคราบน้ำตา หรืออาจพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อล้างท่อน้ำตา และทำการรักษาต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น