ปลาทอง
ประวัติความเป็นมา
ปลาทอง บางครั้งนิยมเรียกว่า ปลาเงินปลาทอง (อังกฤษ: Goldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCarassius auratus เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น โดยดั้งเดิมถือเป็นปลาที่ถูกนำมาบริโภคกันเป็นอาหาร ต่อมาได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามหลากหลายสายพันธุ์ในปัจจุบัน
โดยปลาทองเชื่อว่า เป็นปลาสวยงามชนิดแรกที่มนุษย์เลี้ยง จากหลักฐานที่ปรากฏไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว เป็นรูปสลักปลาทองหลากหลายสีว่ายรวมกันอยู่ในบ่อที่ประเทศจีน ถือเป็นประเทศแรกที่เลี้ยงปลาทอง แต่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ปลาทองให้มีความสวยงามและหลากหลายมาจนปัจจุบัน โดยเมืองแรกที่ทำการเลี้ยง คือ ซะไก ในจังหวัดโอซะกะ ในราวปี ค.ศ. 1502-ค.ศ. 1503 แต่กลายมาเป็นที่นิยมเมื่อเวลาต่อมาอีกราว 100 ปี ถึงขนาดมีร้านขายปลาทองเปิดกันเป็นจำนวนมาก
ปลาทองมีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ดแบบบางเรียบ ครีบอกกลมแบน ครีบหางเป็นรูปพัด เป็นปลากินพืช และแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เป็นปลาที่ตะกละสามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบอกและใบหน้า ปลาตัวท้องช่องท้องจะอูมเป่งออก วางไข่ตามพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 วัน
ปลาทองมีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง, สีทอง, สีส้ม, สีเทา, สีดำและสีขาว แม้กระทั่งสารพัดสีในตัวเดียวกัน ในธรรมชาติชอบอาศัยตามหนองน้ำและลำคลองที่ติดกับแม่น้ำ อาจมีอายุได้ถึง 20-30 ปี ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และถูกนำไปเผยแพร่ในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19 สำหรับในประเทศไทย เชื่อว่าปลาทองเข้าในสมัยอยุธยาตอนกลางเพื่อเป็นของบรรณาการในราชสำนักราว ๆ ค.ศ. 1370-ค.ศ. 1489
ในปัจจุบันมักเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และปลาทองที่เลี้ยงไว้ดูเล่นจะมีช่วงชีวิต ประมาณ 7-8 ปี พบจำนวนน้อยมากที่มีอายุถึง 20 ปี ปัจจุบันประเทศจีน, ฮ่องกง, สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางการส่งออกปลาทองที่ใหญ่ที่สุด
สำหรับในประเทศไทย การเลี้ยงปลาทองในฐานะปลาสวยงามในยุคปัจจุบัน เริ่มขึ้นหลังปี ค.ศ. 1960 ซึ่งความนิยมจะเริ่มขึ้นจากพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อนจะขยายไปตามจังหวัดต่าง ๆ จนปัจจุนมีฟาร์มปลาทองมากมาย มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งเกรดสูงที่มีราคาแพง และเกรดธรรมดาทั่วไป
สายพันธ์ุปลาทอง
มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองมีไม่ต่ำกว่า 100 สายพันธุ์ ซึ่งบางสายพันธุ์จนถึงปัจจุบันก็ได้หายสาบสูญไปตามกาลเวลาก็มี โดยสายพันธุ์แรกที่มีการเลี้ยงคือ ฮิฟุนะ ซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลาทองดั้งเดิมในธรรมชาติ แต่ว่ามีสีทอง ต่อมาก็ถูกพัฒนาจนกลายเป็นปลาทองที่มีหาง 3 แฉก เรียกว่า วากิ้น และจากวาคิ้นก็ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็นปลาทองหาง 4 แฉก คือ จิกิ้น จนในที่สุดก็กลายมาเป็นริวกิ้นในที่สุด
นอกจากนี้แล้วสายพันธุ์ที่เรียกว่า มารุโกะ ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์หัวสิงห์ต่าง ๆ และสายพันธุ์เดเมกิ้น ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์ตาโปนต่าง ๆ
ปลาทองสามารถแบ่งออกตามลักษณะลำตัวได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.กลุ่มที่มีลำตัวแบนยาว
มีลำตัวแบนข้าง และมีครีบหางเดี่ยว ยกเว้นวากิ้นซึ่งมีครีบหางคู่ ปลาในกลุ่มนี้มักจะว่ายน้ำได้รวดเร็ว ปราดเปรียว ทนทานต่อโรคต่าง ๆ และเจริญเติบโตได้เร็วกว่า ปลาทองที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ฟุนะ, ฮิบุนะ, โคเมท, ชูบุงกิ้น, วากิ้น, วาโตไน เป็นต้น
2.กลุ่มที่มีลำตัวกลมหรือรูปไข่
ถือเป็นกลุ่มที่มีจำนวนสายพันธุ์หลากหลายมากที่สุด ซึ่งเป็นกลุ่มที่ว่ายน้ำได้ไม่ดี อาจจะว่ายหัวตก มีลักษณะสำคัญที่ครีบ หัวและนัยน์ตาที่แตกต่างหลากหลายกัน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีครีบหลัง ได้แก่ ริวกิ้น, ออรันดา, เกล็ดแก้ว, ลักเล่ห์ แพนด้า, เดเมกิ้น, โทะซะกิน เป็นต้น กับ กลุ่มที่ไม่มีครีบหลัง ได้แก่ สิงห์จีน, สิงห์ญี่ปุ่น, สิงห์ดำตามิด, รันชู, ลูกโป่ง, ตากลับ เป็นต้น
ลักษณะทั่วไป
พันธุ์ปลาทองแบ่งตามลักษณะลำตัวแบน
1. ปลาทองธรรมดา (Common Goldfish) เป็นปลาทองทั่วไปที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ มีสีเขียว สีส้ม สีทอง และสีขาว และอาจมีจุดหรือลายสีดำ ลำตัวยาว แบน
2. ปลาทองโคเมท (Comet Goldfish) เป็นปลาทองที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลาทอง Common Goldfish มีลักษณะครีบหางยาวเรียว และบางตัวอาจยาวมากกว่าสามส่วนสี่หรือหนึ่งเท่าของความยาวลำตัวเลยทีเดียว ลำตัวมีสีส้ม สีขาวเงิน และสีเหลือง เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วเนื่องจากมีเครีบหางที่ยาว
3. ปลาทองชูบุงกิ (Shubunkin Goldfish) เป็นสายพันธุ์ปลาทองที่มีกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น ลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาทองธรรมดา แต่มีครีบยาวกว่า ปลายหางกลมมน ลำตัวมีสีส้ม สีแดง สีขาว และสีผสมของที่กล่าวมา
4. ปลาทองวากิง (Wakin Goldfish) เป็นสายพันธุ์ปลาทองที่มีกำเนิดในประเทศจีน ลำตัวแบนยาว มีครีบหางเป็นคู่ ลำตัวมีสีแดงสดหรือ สีขาว
แบ่งตามลักษณะลำตัวกลมหรือรูปไข่
1. ปลาทองริวกิ้น (Ryukin Goldfish)
ลำตัวด้านข้างดูกว้าง สั้น ท้องอ้วนกลม มีโหนกหลังสูง ครีบหลังตั้งขึ้นมีขนาดใหญ่ยาว ครีบหางยาว เว้าลึก เกล็ดลำตัวหนาแข็ง สีลำตัวพบมากมี 4 สี มีสีแดง ขาว ขาวแดง และส้ม และอาจมีสีอื่น เช่น สีส้ม ดำ ขาว และฟ้า
1. ปลาทองริวกิ้น (Ryukin Goldfish)
ลำตัวด้านข้างดูกว้าง สั้น ท้องอ้วนกลม มีโหนกหลังสูง ครีบหลังตั้งขึ้นมีขนาดใหญ่ยาว ครีบหางยาว เว้าลึก เกล็ดลำตัวหนาแข็ง สีลำตัวพบมากมี 4 สี มีสีแดง ขาว ขาวแดง และส้ม และอาจมีสีอื่น เช่น สีส้ม ดำ ขาว และฟ้า
2. ปลาทองพันธุ์ออแรนดา (Oranda Goldfish)
เป็นปลาทองสายพันธุ์ผสมระหว่างปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ และริวกิ้น ลำตัวคล้ายรูปไข่หรือรูปรี ส่วนท้องไม่ป่องมาก ครีบยาวใหญ่ โดยเฉพาะครีบหางที่ยาวห้อยสวยงาม แบ่งย่อยเป็น
– ออแรนดาธรรมดา
มีลำตัวยาวรี หัวไม่มีวุ้น ครีบหางยาวมาก
– ออแรนดาหัววุ้น
ลำตัว และหางไม่ยาวเท่าออแรนดาธรรมดา บริเวณหัวมีวุ้นคลุมอยู่
คล้ายปลาทองหัวสิงห์ แต่วุ้นไม่ปกคลุมทั้งหมด และลักษณะวุ้นที่ผู้เลี้ยงต้องการมาก คือ ต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยม
– ออแรนดาหัวแดง (red cup oranda)
เป็นปลาทองพันธุ์ออแรนดาหัววุ้น แต่เน้นที่สีของวุ้นบนหัว ซึ่งจะสีเฉพาะ คือ สีแดง ขณะที่ลำตัวมีสีขาว เป็นปลาทองที่คัดพันธุ์ได้ในประเทศญี่ปุ่น จากการผสมระหว่างพันธุ์หัวสิงห์และริ้วกิ้น มีลักษณะตัวที่มีขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 60 ซ.ม.
– ออแรนดาห้าสี (calico oranda)
มีลักษณะเหมือนออแรนดาหัววุ้น แต่ลำตัวมี 5 สีที่เป็นเฉพาะ คือ สีฟ้า ขาว ดำ แดง และส้ม
– ออแรนดาหางพวง (vailtail oranda)
มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มีครีบหางยาวเป็นพวง ครีบหลังยาวพริ้ว หัวมีวุ้นเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ลำตัวใหญ่ ป้อมสั้น ท้องกลม ด้านหลังแบนข้างเล็กน้อย โหนกสันหลังสูง ทำให้ส่วนหัวดูเล็ก ครีบหลังยาวใหญ่
เป็นปลาทองสายพันธุ์ผสมระหว่างปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ และริวกิ้น ลำตัวคล้ายรูปไข่หรือรูปรี ส่วนท้องไม่ป่องมาก ครีบยาวใหญ่ โดยเฉพาะครีบหางที่ยาวห้อยสวยงาม แบ่งย่อยเป็น
– ออแรนดาธรรมดา
มีลำตัวยาวรี หัวไม่มีวุ้น ครีบหางยาวมาก
– ออแรนดาหัววุ้น
ลำตัว และหางไม่ยาวเท่าออแรนดาธรรมดา บริเวณหัวมีวุ้นคลุมอยู่
คล้ายปลาทองหัวสิงห์ แต่วุ้นไม่ปกคลุมทั้งหมด และลักษณะวุ้นที่ผู้เลี้ยงต้องการมาก คือ ต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยม
– ออแรนดาหัวแดง (red cup oranda)
เป็นปลาทองพันธุ์ออแรนดาหัววุ้น แต่เน้นที่สีของวุ้นบนหัว ซึ่งจะสีเฉพาะ คือ สีแดง ขณะที่ลำตัวมีสีขาว เป็นปลาทองที่คัดพันธุ์ได้ในประเทศญี่ปุ่น จากการผสมระหว่างพันธุ์หัวสิงห์และริ้วกิ้น มีลักษณะตัวที่มีขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 60 ซ.ม.
– ออแรนดาห้าสี (calico oranda)
มีลักษณะเหมือนออแรนดาหัววุ้น แต่ลำตัวมี 5 สีที่เป็นเฉพาะ คือ สีฟ้า ขาว ดำ แดง และส้ม
– ออแรนดาหางพวง (vailtail oranda)
มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มีครีบหางยาวเป็นพวง ครีบหลังยาวพริ้ว หัวมีวุ้นเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ลำตัวใหญ่ ป้อมสั้น ท้องกลม ด้านหลังแบนข้างเล็กน้อย โหนกสันหลังสูง ทำให้ส่วนหัวดูเล็ก ครีบหลังยาวใหญ่
3. ปลาทองตาโปน (Telescope eyes Goldfish)
มีลักษณะลำตัวสั้น ท้องกลม คล้ายพันธุ์วินกิ้ง แต่มีลักษณะเด่นที่ตาทั้งสองข้าง โดยตามีลักษณะยื่นโปนออกมาด้านข้าง ผู้ที่ชื่นชอบปลาทองพันธุ์นี้ หากมีตายื่นโปนออกมามากยิ่งมีราคาสูง แบ่งย่อยเป็น
– ปลาทองตาโปนสีแดง หรือ ขาวแดง มีลักษณะลำตัว และครีบสีแดงเข้ม หรือมีสีขาวสลับแดง และหากมีสีขาว ต้องเป็นสีขาวอย่างเดียวไม่มีสีอื่นแกมผสม
มีลักษณะลำตัวสั้น ท้องกลม คล้ายพันธุ์วินกิ้ง แต่มีลักษณะเด่นที่ตาทั้งสองข้าง โดยตามีลักษณะยื่นโปนออกมาด้านข้าง ผู้ที่ชื่นชอบปลาทองพันธุ์นี้ หากมีตายื่นโปนออกมามากยิ่งมีราคาสูง แบ่งย่อยเป็น
– ปลาทองตาโปนสีแดง หรือ ขาวแดง มีลักษณะลำตัว และครีบสีแดงเข้ม หรือมีสีขาวสลับแดง และหากมีสีขาว ต้องเป็นสีขาวอย่างเดียวไม่มีสีอื่นแกมผสม
– ปลาทองตาโปน 3 สี หรือ 5 สี มีลักษณะเหมือนปลาทองตาโปนทั่วไป แต่จะมีสีของลำตัว และครีบ 3 หรือ 5 สี เท่านั้น
4. ปลาทองเกล็ดแก้ว (Pearl scales Goldfish)
มีลักษณะลำตัวอ้วน กลม สั้น ส่วนท้องป่อง มองด้านข้างมีมีลักษณะทรงกลม หัวเล็ก ปากแหลม พันธุ์นี้มีลักษณะเด่นที่เกล็ดที่เป็นที่มาของชื่อ คือ เกล็ดหนามาก มีลักษณะนูนขึ้นเป็นเม็ดกลมๆ เพราะเกล็ดมีสารกัวอานิน (guanin) ที่เป็นองค์ประกอบมาก ลักษณะที่ดีของปลาทองพันธุ์นี้ คือ เกล็ดต้องนูนเด่น และเรียงตัวอย่างสม่ำเสมอ และเป็นระเบียบ ครีบ และหางจะต้องแผ่ออก ไม่หุบงอ สีทีนิยมมาก ได้แก่ สีแดง ส้ม ขาวแดง ขาว เหลือง และดำ พันธุ์ที่ประเทศไทยนิยมเลี้ยง ได้แก่ ปลาทองเกล็ดแก้วหัวมงกุฏ ปลาทองเกล็ดแก้วหน้าหมู และปลาทองเกล็ดแก้วหัววุ้น
มีลักษณะลำตัวอ้วน กลม สั้น ส่วนท้องป่อง มองด้านข้างมีมีลักษณะทรงกลม หัวเล็ก ปากแหลม พันธุ์นี้มีลักษณะเด่นที่เกล็ดที่เป็นที่มาของชื่อ คือ เกล็ดหนามาก มีลักษณะนูนขึ้นเป็นเม็ดกลมๆ เพราะเกล็ดมีสารกัวอานิน (guanin) ที่เป็นองค์ประกอบมาก ลักษณะที่ดีของปลาทองพันธุ์นี้ คือ เกล็ดต้องนูนเด่น และเรียงตัวอย่างสม่ำเสมอ และเป็นระเบียบ ครีบ และหางจะต้องแผ่ออก ไม่หุบงอ สีทีนิยมมาก ได้แก่ สีแดง ส้ม ขาวแดง ขาว เหลือง และดำ พันธุ์ที่ประเทศไทยนิยมเลี้ยง ได้แก่ ปลาทองเกล็ดแก้วหัวมงกุฏ ปลาทองเกล็ดแก้วหน้าหมู และปลาทองเกล็ดแก้วหัววุ้น
5. ปลาทองพันธุ์เล่ห์ (Black telescope eyes Goldfish หรือ Black moor)
ปลาทองพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นที่สีลำตัว คือ จะต้องมีสีลำตัวทุกส่วนดำสนิท ไม่มีสีอื่น และต้องไม่เปลี่ยนสีตลอดอายุ ได้แก่ ปลาทองรักเล่ห์ หรือ เล่ห์
ปลาทองพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นที่สีลำตัว คือ จะต้องมีสีลำตัวทุกส่วนดำสนิท ไม่มีสีอื่น และต้องไม่เปลี่ยนสีตลอดอายุ ได้แก่ ปลาทองรักเล่ห์ หรือ เล่ห์
6. ปลาทองพันธุ์แพนด้า (Panda Goldfish)
เป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงมากในประเทศจีน เป็นปลาทองที่พัฒนามาจากพันธุ์เล่ห์ ปลาทองพันธุ์นี้มีลักษณะเด่น คือ ครีบทุกครีบ รวมทั้งครีบหางจะมีสีดำสนิท ส่วนสีลำตัวจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาวหรือสีเงิน ทำให้มีลักษณะคล้ายกับหมีแพนด้าของจีน
เป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงมากในประเทศจีน เป็นปลาทองที่พัฒนามาจากพันธุ์เล่ห์ ปลาทองพันธุ์นี้มีลักษณะเด่น คือ ครีบทุกครีบ รวมทั้งครีบหางจะมีสีดำสนิท ส่วนสีลำตัวจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาวหรือสีเงิน ทำให้มีลักษณะคล้ายกับหมีแพนด้าของจีน
7. ปลาทองพันธุ์ปอมปอน (Pompon Goldfish)
มีลักษณะลำตัวป้อม สั้น แต่ยาวกว่าปลาทองหัวสิงห์ มองจากด้านบนจะมีรูปสี่เหลี่ยมคล้ายปลาทองหัวสิงห์ ผนังกั้นจมูกยื่นยาวออกเป็นพู 2 พู พันธุ์ที่นิยมเลี้ยง คือ ปลาทองปอมปอนสีแดง ไม่มีครีบหลัง
มีลักษณะลำตัวป้อม สั้น แต่ยาวกว่าปลาทองหัวสิงห์ มองจากด้านบนจะมีรูปสี่เหลี่ยมคล้ายปลาทองหัวสิงห์ ผนังกั้นจมูกยื่นยาวออกเป็นพู 2 พู พันธุ์ที่นิยมเลี้ยง คือ ปลาทองปอมปอนสีแดง ไม่มีครีบหลัง
แบ่งตามลักษณะลำตัวกลม ไม่มีครีบหลัง
1. ปลาทองหัวสิงห์ (Lion head) มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาทอง
ชนิดที่ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้เลี้ยงปลา ปลาชนิดนี้มีรูปทรงสง่างาม มีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ สิงห์จีนและสิงห์ญี่ปุ่น สิงห์จีนจะมีลักษณะหัวใหญ่ส่วนใหญ่จะมีวุ้นหนา ลำตัวยาว สิงห์ญี่ปุ่นส่วนหัวจะเล็กกว่าส่วนใหญ่ไม่มีวุ้นลำตัวสั้น หลังจะโค้งมน หางสั้นและเชิดขึ้นดูสง่างาม ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินลูกน้ำ ไรแดง ไข่น้ำ การเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ได้ดีควรเลี้ยงในอ่างตื้น ๆ ลึกไม่เกิน 8 นิ้ว จะทำให้ปลามีรูปร่างสวยงาม
1. ปลาทองหัวสิงห์ (Lion head) มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาทอง
ชนิดที่ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้เลี้ยงปลา ปลาชนิดนี้มีรูปทรงสง่างาม มีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ สิงห์จีนและสิงห์ญี่ปุ่น สิงห์จีนจะมีลักษณะหัวใหญ่ส่วนใหญ่จะมีวุ้นหนา ลำตัวยาว สิงห์ญี่ปุ่นส่วนหัวจะเล็กกว่าส่วนใหญ่ไม่มีวุ้นลำตัวสั้น หลังจะโค้งมน หางสั้นและเชิดขึ้นดูสง่างาม ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินลูกน้ำ ไรแดง ไข่น้ำ การเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ได้ดีควรเลี้ยงในอ่างตื้น ๆ ลึกไม่เกิน 8 นิ้ว จะทำให้ปลามีรูปร่างสวยงาม
2. ปลาทองตากลับ (Celestial Goldfish)
3. ปลาทองตาลูกโป่ง (Bubble eyes Goldfish)